6 วิธีพัฒนาจิตใจไม่ให้ถูกอารมณ์ควบคุม

            6 วิธีพัฒนาจิตใจไม่ให้ถูกอารมณ์ควบคุม                                                      à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ วิธีการพัฒนาจิต                                               1.ฝึกเฝ้าดูสิ่งที่ตนเองกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อจะได้ค่อยๆ ควบคุมความคิดและความรู้สึก และหากเฝ้าสังเกตการณ์พูดและการกระทำของคนอื่นด้วยจะยิ่งดี เพราะจะเป็นการช่วยเราทางอ้อมให้ค่อยๆ เข้าไปควบคุมการพูดและความรู้สึกของตนเองได้ ซึ่งนั่นเท่ากับการจดจ่อของเราเริ่มมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี เราจำเป็นจะต้องฝึกจิตใจให้สงบควบคู่ไปกับการเฝ้าดูดังกล่าวด้วย เนื่องจากจิตใจที่ว้าวุ่น หงุดหงิดง่าย เป็นตัวทำลายการจดจ่อ




2.จงเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคง อย่าตื่นเต้น กระวนกระวาย หรือเปลี่ยนแปลงอารมณ์ง่าย เพราะเมื่ออารมณ์เปลี่ยน เส้นประสาทในร่างกายจะขึงตึงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ และเมื่อเส้นประสาทไม่อยู่ในสภาวะปกติ เราจะสูญเสียการจดจ่อที่ต้องการไปทันที มีรายงานการวิจัยยืนยันว่า หากเราอยู่ในสภาวะจดจ่อต่อความคิด หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เซลล์ล้านกว่าเซลล์ในร่างกายของเรา ซึ่งถูกควบคุมโดยสมองจะปล่อยนิวตรอนสีเทาที่มีพลังมากออกมา ช่วยให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ฉะนั้นหากเป็นไปได้ จงเลี่ยงการทำงานหรือการออกกำลังกายที่ทำให้เกิดความตื่นเต้นหรือระบบประสาทตื่นตัวอย่างหนัก หากอาการนั้นเกิดขึ้นแล้ว ให้จดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้า-ออกสักครู่ จิตใจจะค่อยๆ สงบลงและกลับมาสู่การจดจ่อได้



3.ทำทีละอย่าง เธอรอนเขียนไว้ในหนังสือว่า “ทำงานเมื่อทำงาน เล่นเมื่อเล่น” วิธีนี้ไม่ต่างจากการ “อยู่กับปัจจุบัน” ตามแบบพุทธศาสนาที่เราได้รับการอบรมสั่งสอนมา โดยวิธีตามหลักพุทธจะลึกซึ้งและละเอียดอ่อนกว่าตรงที่ จำเป็นต้อง “รู้ตัวทั่วพร้อม” ด้วย เธอรอนกล่าวว่า หากเราอยู่กับสิ่งที่เรากระทำอยู่ ณ เวลานั้น เท่ากับได้อยู่กับ “ความเป็นจริง” ของตัวเอง จงฝึกเริ่มงานตอนเช้าในเวลาเดียวกันทุกวัน ระบบประสาทในร่างกายจะเริ่มพัฒนาสู่การจดจ่อในการทำงานโดยอัตโนมัติ



ตรงกันข้ามหากไม่สามารถตั้งเวลาแน่นอนในการทำงานได้ พัฒนาการการจดจ่ออาจล้มเหลว ฉะนั้นเมื่อเริ่มทำงานในวันไหนสมองจึงต้องใช้พลังงานในการเซตตัวเอง ซึ่งเป็นการเปลืองพลังงาน



4.ออกกำลังระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เพราะจิตใจสัมพันธ์กับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ฉะนั้นการฝึกออกกำลังกายช้าๆ เพื่อให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อมีความมั่นคง ไม่ถูกกระตุ้นให้ตื่นเต้นได้ง่าย เช่น การยกน้ำหนัก พิลาทิส โยคะ ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพจดจ่อได้



5.มีความรู้สึกและเมตตาปราณีต่อสรรพสิ่ง ดูราวกับจะทำตัวให้เป็นนางฟ้า “แต่ถ้าเรามีแต่ความรู้สึกดีๆ อยู่ในใจ ร่างกายเราจะนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงปอดและหัวใจได้ดี นอกจากนี้ความรักก็ทำให้จิตวิญญาณเบิกบาน หล่อหลอมบุคลิกภาพ ช่วยเรื่องการเข้าสังคม ยิ่งหายใจได้ลึกเท่าไร ก็ยิ่งได้พลังชีวิตและความเข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการจดจ่อและสร้างพลังในชีวิต” เธอรอนกล่าว



6.คิดอะไรเป็นอย่างนั้น ความคิดสร้างพลังจริงๆ พิสูจน์ได้จากการทดลองกับนักโทษที่กำลังจะถูกประหารชีวิต คืนก่อนวันประหาร เขาถูกจับจังไว้ในห้องมืด โดยมีเครื่องวัดความดันและวัดอัตราการเต้นของหัวใจติดตัวอยู่ จากนั้นให้ผู้คุมกรีดขาเขาเบาๆ โดยไม่บอกขนาดแผล แต่บอกว่า หากเขาสามารถรอดจากความตายในคืนนี้ไปได้ จะได้รับการปล่อยตัว แต่ด้วยบาดแผลที่มองไม่เห็น จึงทำให้เขาหวาดกลัวจนเสียชีวิต เธอรอนกล่าวว่า เราทุกคนล้วนแวดล้อมด้วยความคิดสารพัดแบบ ทั้งดีและไม่ดี หากซึมซับความคิดลบในชีวิตประจำวันไว้ จะทำให้เรามองโลกในแง่ร้ายและไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งดีๆ ที่กำลังทำอยู่ได้



นอกจากนี้ความคิดลบจะสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นลบและดึงดูดเพื่อนที่มีความคิดลบ ตรงกันข้าม ความคิดบวกจะสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นบวกและดึงดูดเพื่อนที่มีความคิดบวก ซึ่งจะส่งเสริมพลังในการจดจ่อกับสิ่งดีๆ ที่กำลังทำอยู่                                                                                                                        homepage

อ้างอิง https://www.haijai.com/4283/

ความคิดเห็น